Last updated: 6 พ.ค. 2567 | 842 จำนวนผู้เข้าชม |
องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
อบต.บางน้ำเปรี้ยว
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%AD%E0%B8
ที่อยู่ : 55 หมู่ 4 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24150
เบอร์โทร : 038-582306
องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงหมายเลข 0032 สายฉะเชิงเทรา – บางน้ำเปรี้ยว และห่างจากกรุงเทพมหานคร 40 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 22,723 ไร่ หรือ 36.36 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง
1. ลักษณะดินของพื้นที่ตำบลบางน้ำเปรี้ยว เป็นดินเปรี้ยว ดินเหนียว เป็นอุปสรรคในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร แต่เหมาะกับการทำนา เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ มีคลอง 2 สาย และบึงหนองและอื่น ๆ อีก 19 แห่ง และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเป็นแหล่งน้ำสาธารณะบึงต้นไทร (ขนาดเล็ก) หมู่ที่ 7 ความจุเก็บกัก 19,500 ลบ.ม.
2. ข้อมูลด้านป่าไม้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ หรือป่าสงวนแห่งชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก มีลำคลองผ่านหลายสาย เหมาะสำหรับ ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว สร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลัง โดยการปรับปรุงกระบวนการบริหาร การเงินการคลังให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และภารกิจที่มีอยู่เดิม และที่ได้รับถ่ายโอนจากการกระจายอำนาจจากหน่วยงานต่างๆ และส่งเสริมสังคมเข็มแข็งมีดุลภาพเป็นสังคมที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาและการเรียนรู้มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทร ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา สาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่มา : https://www.bangnampriao.go.th/tambon/general
อบต.สิงโตทอง
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%AD%E0%
ที่อยู่ : 106 หมู่ 2 ตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24150
เบอร์โทร : 038-086028
องค์การบริหารส่วนตำบลสิงโตทอง เป็นหนึ่งใน 10 ตำบล ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว เดิมขึ้นกับตำบลหมอนทอง และแยกเป็นตำบลตำบลสิงโตทอง สภาพดั้งเดิม เป็นป่าพรุ รกชัฏ อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าแขม หนองน้ำ บึงธรรมชาติ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่นเสือและช้าง ต่อมาสมัยรัชการที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบบชลประทาน มีการขุดคลองส่งน้ำจนสามารถทำนาได้ การคมนาคมก็สะดวกยิ่งขึ้นเพราะสามารถเชื่อมเข้ากับคลองแสนแสบได้ ชาวมุสลิมที่อยู่ย่านหัวหมาก คลองตัน หนองจอก มีนบุรี จึงอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนพร้อมจับจองที่ทำนา
1. สร้างระบบบริหารจัดการที่ดีโดยให้ประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครองเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน ส่งเสริมการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายภาคประชาชนให้เข้มแข็งและสร้างความเข้มแข็งให้กลไกตรวจสอบภาคประชาชน
2. สร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลังโดยการปรับปรุงกระบวนการบริหารการเงินการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และภารกิจที่มีอยู่เดิม และที่ได้รับถ่ายโอนจากการ กระจายอำนาจจากหน่วยงานต่างๆ
3. ส่งเสริมสังคมเข็มแข็งในส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ให้มีดุลภาพเป็นสังคมที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาและการเรียนรู้มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทร ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา สาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดำรงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในองค์การบริหารส่วนตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริโภค ช่วยลดผลกระทบต่อฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สร้างนวัตกรรมจากทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพสร้างความมั่นคงของชุมชน พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร สวัสดิการ การอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและการประสาน ข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ แบบรวดเร็วและชัดเจน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร
ที่มา : https://www.stt.go.th/obt/vision
อบต.หมอนทอง
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%AD%E0%B8%
ที่อยู่ : เลขที่ 3/4 หมู่ 2 ตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24150
โทรศัพท์ : 0-3858-2090
องค์การบริหารส่วนตําบลหมอนทอง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอําเภอบางน้ําเปรี้ยว มีทางหลวง หมายเลข นย3001
สายบางน้ําเปรี้ยว - องครักษ์ มีเนื้อที่ประมาณ 53.85 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 33,656 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอําเภอ
บางน้ําเปรี้ยว5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา 21 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร (เขตหนองจอก) ประมาณ 20 กิโลเมตรมีอาณาเขต
1. อาชีพหลักของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว คือ การทํานา ผลผลิตโดย เฉลี่ย 750-800 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีพื้นที่ทําการเกษตร ประมาณ 27,131 ไร่ อาชีพรองลงมาได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย การประมงน้ําจืด และอาชีพค้าขาย
2. ดำรงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริโภคเอลดผลกระทบต่อฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สร้างนวัตกรรมจากทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพสร้างความมั่นคงของชุมชนชาวหมอนทอง อำเภอ บางน้ำเปรี้ยว องค์การบริหารส่วนตําบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว นอกจากนั้นยังมีลำคลอง 18 และ 19 รวมทั้งบึงที่เชื่อมคลองทั้งสองสายที่สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้อย่างดี รวมระยะทางน้ำทั้งสิ้นประมาณ 35 กิโลเมตร แต่เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีผักตบชวาและวัชพืชในลำคลองประกอบกับมีเส้นทางบกใช้ จึงมีการใช้การคมนาคมทางน้ำน้อยมาก และประชาชนส่วนใหญ่มีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนตัวใช้กันมาก
ที่มา : https://mhontong.go.th/public/list/data/index/menu/1142
อบต.บึงน้ำรักษ์
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%AD%E0%B8%87%
ที่อยู่ : เลขที่ 19/4 หมู่ 11 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24170
โทรศัพท์ : 0-3809-0740
จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ของพื้นที่ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยวเล่าว่า ในพื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน และมีลำบึงที่ยาวคดไปคดมา หรือเป็นแนวตรงเชื่อมแหล่งน้ำอื่น ๆ ชาวบ้านได้อาศัยน้ำในการทำนาปลูกข้าว และสัญจนไป-มา ได้สะดวก
1. ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีบึงหนึ่งที่ทอดตัวผ่านทุ่งนาเป็นแนวทางทิศเหนือสู่ทิศใต้ น้ำในบึงเป็นสีดำดูไม่สะอาด แต่ประหลาดที่น้ำสีดำนั้น ไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนกับสี ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บึงน้ำรัก" หมายถึงบึงน้ำสีดำ ซึ่งในเวลาต่อมาน้ำสีดำในบึงก็ได้จากไปและได้เขียนเป็นตัวอักษาได้ว่า "บึงน้ำรักษ์" ชื่อหมู่บ้านในบึงน้ำรักษ์มีดังนี้ บ้านคลองหกา บ้านคลองสิบสี่ บ้านคลองสิบห้า
2. มีการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีโดยให้ประชาชนในตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน
และส่งเสริมการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายภาคประชาชนให้เข้มแข็ง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กลไกตรวจสอบภาคประชาชน สร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลังโดยการปรับปรุงกระบวนการบริหารการเงินการคลังให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และภารกิจที่มีอยู่เดิม และที่ได้รับถ่ายโอนจากการกระจายอำนาจจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงน ้ารักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน จึงกำหนดมาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม พร้อมทั้งตั้งวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทาง และกลไกลในการป้องกันการขัดกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมสำหรับประชาชน
ที่มา : https://buengnamrak.go.th/public/list/data/detail/id/342/menu/1196/page/1/catid/87
อบต.โยธะกา
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%
ที่อยู่ : 50/2-50/3 หมู่3 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24150
โทรศัพท์ : 0-3858-1206
ตำบลโยธะกาแยกออกมาจากตำบลดอนเกาะกาและตำบลหมอนทอง เมื่อปี พ.ศ. 2480 สมัยก่อนชาวบ้านเรียก
“แม่น้ำนครนายก” ว่า “แม่น้ำโยธะกา” เนื่องจากมีต้นโยธะกาเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งดอกสีชมพู ฝักคล้ายกระถิน ขึ้นเรียงรายตามสองฝั่งแม่น้ำ ปัจจุบันต้นไม้ดังกล่าวสาบสูญไปหมดแล้ว ชาวบ้านจึงเรียกแม่น้ำโยธะกาว่า แม่น้ำนครนายกตามชื่อเดิม ส่วนชื่อตำบลโยธะกานั้นเป็นชื่อที่ใช้เรียก ตามชื่อแม่น้ำโยธะกาซึ่งไหลผ่านตำบล
1. ตำบลโยธะกํา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากอำเภอบางน้ำ เปรี้ยว
12 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา ประมาณ 35 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 58.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 36,375ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ทางทิศตะวันออกประมาณ 75กิโลเมตร ตามทางหลวงรถยนต์หมายเลข304 ( สุวินทวงศ์ )
2. ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มคล้ายกระทะ ในปีที่มีปริมาณน้ ํามากจะเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ และมีบางพื้นที่เป็นลักษณะคล้ายขอบกระทะพื้นที่เหล่านี้มักจะประสบปัญหาหน้าแล้งในฤดูร้อน เนื่องจากน้ำที่จ่ายจากชลประทานไม่สามารถไหลมาถึงได้นอกจากนี้ยังมีสภาพภูมิประเทศบางส่วนอยู่ติดแม่น้ำ นครนายกและปราจีนบุรีไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำบางประกง เนื่องจากตลอดระยะทํางของฝั่งแม่น้ ํากรมชลประทํานได้ก่อสร้ํางคัน กั้นน้ำตลอดแนวแม่น้ำ โดยวัตถุมีประสงค์ของคันกั้นน้ำ ทำขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง ประชากรในตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยวนับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่ สถาบันและองค์กรทางศาสนา มีวัด 2 แห่ง มัสยิด 7 แห่ง ส่วนข้อมูลด้านป่าไม้ของต ําบลโยธะกา ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ หรือป่าสงวนแห่งชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร พืชที่นิยมปลูก คือ กล้วย มะม่วง มะพร้ําว
ที่มาๅ : https://yothaka.go.th/public/list/data/index/menu/247
อบต.ดอนฉิมพลี
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%
ที่อยู่ : เลขที่ 88 หมู่ที่ 8 ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24170
โทรศัพท์ : 0-3809-0524
เดิมตําบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีพื้นที่เป็นป่ารกทึบเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าโดยเฉพะกระบือ โดยมีจ่าฝูง
ที่ดุร้ายเป็นที่เลื่องลือถึงความดุร้าย จนชาวบ้านในละแวกนั้น ตั้งชื่อให้ว่า“ฉิมพลี” ต่อมาได้มีคนเรียกชื่อป่าบริเวณนี้ว่“ป่าฉิมพลี” ในเวลาต่อมาตั้งเป็นหมู่บ้าน จึงเรียกชื่อเพี้ยนเป็น “ดอนฉิมพลี”
1. ตำบลดอนฉิมพลีเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่อเนื่องกับตำบลศาลาแดง, สิงโตทอง, หมอนทอง และดอนเกาะกา โครงสร้างภายในประกอบด้วยคลองหลายสาย เช่น คลองชลประทาน 16, 17, 18, 19, 20, 21 และคลองหกวา เป็นต้น คลองเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของเกษตรกรรมในตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยวใช้เพื่อการเกษตร, การอุปโภคบริโภค ระบายน้ำ และการขนส่งสินค้า และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก
2. เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม เช่น การทำไร่นาสวนผสม, การเลี้ยงปลา, กุ้ง, ปลา, กบ, ตะพาบน้ำ ฯลฯ และเหมาะที่จะพัฒนาที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเขตเมืองหลวงต่อไป เนื่องจากตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีเส้นทางการคมนาคมและเขตติดต่อกับเมืองหลวงหลายเส้นทาง อาชีพของราษฎรในตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร คือการทำนา ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ พืชหลักที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรมากคือ ข้าว ซึ่งสามารถทำการเพาะปลูกได้ 2 - 3 ครั้งต่อปี ด้านการทำสวนนั้นเป็นการทำสวนผลไม้ ที่สำคัญ ได้แก่ มะม่วง, กล้วย, มะละกอ ฯลฯ และการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่, กุ้ง, วัว, ปลา, เป็ด เป็นต้น
ที่มา : https://donchimplee.go.th/public/list/data/index/menu/1592
อบต.ศาลาแดง
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%
ที่อยู่ : เลขที่ 59 หมู่ที่ 12 ถนนหนองจอก-บ้านสร้าง ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000
โทรศัพท์ : 038-088-051 - 3
การค้นหาประวัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การส่วนตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวนั้น ยากลำบากมาก เพราะนับเป็นเวลานานมาแล้ว จึงอาศัยการเล่าสืบต่อกันมา คนรุ่นพ่อรุ่นแม่เล่าให้ฟังว่า การเดินทางเข้าไปบางกอกก็ต้องไปทางเรือที่ล่องไปตามคลองแสนแสบเท่านั้น โดยจะพายเรือหรือแจวเรือไปจนกว่าจะถึงประตูน้ำที่อยู่ในกรุงเทพฯ ตอนระหว่างทางใกล้จะถึงสามแยกก็จะมีศาลาอยู่หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ชายคลอง ซึ่งสร้างด้วยอิฐสีแดง ไม่ทราบว่าใครสร้างไว้ เวลาเดินทางไปก็ต้องแวะพักร้อน หรือพักค้างกันที่ศาลานี้ และคนมักเรียกกันว่า "ศาลาแดง"
1. ก่อนที่จะก่อสร้างอาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลได้อาศัยอยู่ที่ว่าการอำเภอบางน้ำเปรี้ยวเป็นที่ทำการในการบริหารส่วนตำบล จนกระทั่งได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินจำนวน 1 ไร่ 1 งาน 4 ตารางวา ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ทำการ
2. ลักษณะที่ตั้งขององค์การส่วนตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ปลายเขตแดนของอำเภอบางน้ำเปรี้ยวมีพื้นที่ติดต่ออำเภอเมือง และเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 304 (ถนนสุวินทวงศ์) กั้นเขตแดนระหว่างอำเภอเมือง และมีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3481 หนองจอก-บ้านสร้าง ตัดผ่ากลางพื้นที่ตำบลศาลาแดง
โครงสร้างภายในตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวประกอบด้วย คลองสายต่างๆ เช่น คลองนครเนื่องเขต คลองไผ่ดำ คลองพระองค์เจ้าไชยนุชิต และคลองแสนแสบ คลองเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ช่วยการระบายน้ำ และช่วยการขนส่งผลผลิต
ที่มา : https://saladangchachoengsao.go.th/
อบต.โพรงอากาศ
พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%97
ที่อยู่ : เลขที่ 99 หมู่ 9 ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24150
โทรศัพท์ : โทรศัพท์ 038-582-326
เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ตามคำบอกเล่าของ ผู้สูงอายุ แต่เดิมตำบลนี้มีชื่อว่า “พงตะกาด” เนื่องจากมีสภาพ รกร้างว่างเปล่า เป็นที่ราบลุ่ม มีพงหญ้าเรียกว่าต้นตะกาด และต้นลำโพงขึ้นอยู่มากมาย ดอกสีขาวมีสรรพคุณรักษาโรคไซนัส เหตุที่มีต้นลำโพงและมีหญ้าตะกาด ขึ้นเป็นพงอยู่มากมาย ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านพงตะกาด” ต่อๆ กันมา ในช่วงระยะหลัง จึงได้เปลี่ยนเป็น “บ้านโพรงอากาศ” ดังในปัจจุบัน
1. องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงอากาศ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ตามถนนหมายเลข 3200 ถนนบางน้ำเปรี้ยว - ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 5 กม. และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทราประมาณ 20 กิโลเมตร ประชากรทั้งสิ้น 7,919 คน เป็นชาย 3,876 คน หญิง 4,043 คน มีความหนาแน่น 134.86 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวน ครัวเรือน 2,292 ครัวเรือน มีพื้นที่ 58.7 ตารางกิโลเมตร
2. พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว เป็นพื้นที่การเกษตร ประมาณ 32,227 ไร่ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้และภูเขาเป็น พื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่มีลำคลองต่าง ๆ หลายสาย เช่น คลองชวดตาสี คลองขวาง คลองบางกลาง คลองแพรกตามายาว คลองบ้านใหม่ คลองปลื้มพับผ้า คลองบางใหญ่ บึงบางสาย คลองพงศ์กระถิน และคลองลาดบางกระเบน เป็นต้น อาณาเขตทิศเหนือติดกับตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ทิศตะวันออกติดกับตำบลบางโรง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันตกติดกับตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ทิศใต้ติดกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ส่งเสริมศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้มีความรัก ความสามัคคี เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันดีของคนไทย และดำรงตนในสังคมได้อย่างมีคุณค่า ไม่ทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กและคนชรา และยังส่งเสริมให้ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยวมีคุณภาพชีวิตที่ดี รักการกีฬา สุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากยาเสพติด
ที่มา : https://www.prongarkard.go.th/obt/vision
โครงการอุไรสิริ 3 บางน้ำเปรี้ยว ยังมี บทความเกี่ยวกับ สถานที่สำคัญ อื่นๆ ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่น่าสนใจ มาแนะนำเพื่อนๆด้วยนะคะ
รวม 10 ตำบล ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวะฉะเชิงเทรา
โรงเรียนในบางน้ำเปรี้ยว
สำหรับใครที่กำลังมองหา ทาวน์โฮม ชั้นเดียว ย่านบางน้ำเปรี้ยว แนะนำ อุไรสิริ 3 บางน้ำเปรี้ยว 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ เชิญชมโครงการได้ทุกวัน 9.00-18.00 น.
30 ต.ค. 2567
3 พ.ย. 2567