Last updated: 23 เม.ย 2568 | 20 จำนวนผู้เข้าชม |
ค่าโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ขั้นตอนการโอนที่ดิน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายและค่าภาษีอะไรบ้าง โอนที่ดินที่ไหน ใช้เวลานานหรือไม่
ทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อที่ดินเปล่า บ้านพร้อมที่ดิน หรือที่ดินพร้อมปลูกสร้างควรรู้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาและสามารถทำเรื่องโอนที่ดินให้จบครบอย่างรวดเร็วในวันเดียว โดยหลังจากที่มีการตกลงซื้อขายกันแล้ว จะต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่กรมที่ดิน และดำเนินการโอนที่ดิน เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์
เอกสารโอนที่ดิน
เอกสารกรณีบุคคลธรรมดา
1. บัตรประชาชน พร้อมสำเนาที่ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2. หนังสือเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล พร้อมสำเนาลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
3. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
4. หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) ในกรณีที่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
5. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
6. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
เอกสารกรณีนิติบุคคล
1. หนังสือรับรองนิติบุคคล ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
2. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน พร้อมรายละเอียดในบัญชีรายชื่อของนิติบุคคลที่สามารถซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หากผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องมีหุ้นไม่ถึง 40% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
3. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ซึ่งระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อและแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการซื้อ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
5. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
6. หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
8. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
ค่าโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน
1. ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
2. ค่าอากร 5 บาท
3. ค่าพยาน 20 บาท
4. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ซึ่งคิดที่ 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย โดยใช้ราคาสูงสุดในการคำนวณ
ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่กรมที่ดินประเมินราคาที่ดิน 5,000,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 5,500,000 บาท คำนวณราคาค่าโอนที่ดินโดย 5,500,000 x 2% = 110,000 บาท
5. ค่าจดจำนอง เฉพาะสำหรับกรณีกู้เงินจากสถาบันการเงินมาซื้อ ซึ่งคิดที่ 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ตัวอย่าง กู้เงิน 5,000,000 บาทมาซื้อที่ดิน มูลค่าที่จดจำนองคือ 5,000,000 บาท และคำนวณค่าจดจำนองโดย 5,000,000 x 1% = 50,000 บาท
6. ค่าอากรแสตมป์ ซึ่งคิดที่ 0.50% ของราคาซื้อขาย แต่หากต่ำกว่าราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ ให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณราคาค่าโอนที่ดิน แต่ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์
ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่กรมที่ดินประเมินราคาที่ดิน 5,000,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 5,500,000 บาท คำนวณค่าอากรแสตมป์โดย 5,500,000 x 0.50% = 27,500 บาท
7. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดที่ 3.3% ของราคาซื้อขาย หากต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณราคาโอนที่ดิน (หากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือถือครองอสังหาริมทรัพย์ครบ 5 ปีแล้ว ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยจะเสียแค่ค่าอากรแสตมป์เท่านั้น)
ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่กรมที่ดินประเมินราคาที่ดิน 5,000,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 5,500,000 บาท คำนวณค่าภาษีธุรกิจเฉพาะโดย 5,500,000 x 3.3% = 181,500 บาท
8. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากบุคคลธรรมดาขายอสังหาริมทรัพย์ได้ จะต้องเสียภาษีเงินได้ โดยนำราคาประเมินมาคำนวณตามอัตราภาษีเงินได้ พร้อมหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามจำนวนปีที่ถือครอง ดังนี้
อัตราภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย
การหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามจำนวนปีที่ถือครอง
สำหรับค่าโอนที่ดิน 2568 ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะหรือค่าอากรแสตมป์นั้น ผู้ซื้อกับผู้ขายอาจออกคนละครึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกค่าใช้จ่ายเหล่านี้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
นอกจากนี้ หากเป็นการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอย่างบ้าน ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก นอกเหนือจากราคาค่าโอนที่ดิน 2568 ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน เช่น ค่าเงินประกันการใช้มิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟฟ้า หรือค่าส่วนกลาง
เอกสารโอนที่ดิน 2568
เอกสารกรณีบุคคลธรรมดา
1.บัตรประชาชน พร้อมสำเนาที่ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2. หนังสือเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล พร้อมสำเนาลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
3. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
4. หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) ในกรณีที่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
5. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
6. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
เอกสารกรณีนิติบุคคล
1.หนังสือรับรองนิติบุคคล ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
2. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน พร้อมรายละเอียดในบัญชีรายชื่อของนิติบุคคลที่สามารถซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หากผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องมีหุ้นไม่ถึง 40% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
3. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ซึ่งระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อและแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการซื้อ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
5. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
6. หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
8. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
ค่าโอนที่ดิน 2568 โอนกรรมสิทธิ์ในแต่ละกรณี
1.โอนให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย
โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรที่เกิดจากพ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรสกัน
– ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมิน
– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมิน
– ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% เฉพาะในกรณีที่มูลค่าที่ดินหรือบ้านมากกว่า 20 ล้านบาท (หมายถึงจะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วน 20 ล้านบาท แต่จะต้องเสียภาษี 5% ในส่วนที่เกินจาก 20 ล้านบาท)
2. โอนให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน รวมถึงกรณีที่พ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร
– ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมิน
– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมิน
– ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดของราคาประเมิน โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50%
3. โอนให้สามี-ภรรยา
สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยไม่ได้อยู่ในรูปแบบมรดก
– ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมิน
– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมิน
– ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดของราคาประเมิน โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50%
4. โอนให้ญาติพี่น้อง
เมื่อญาติพี่น้อง ที่ไม่ว่าจะเป็น พี่น้อง ป้าลุง น้าอา หรือลูกสะใภ้ ลูกเขย และลูกบุญธรรม ต้องการโอนที่ดิน โอนบ้าน หรือโอนคอนโด โดยไม่ได้อยู่ในรูปแบบมรดก จะมีค่าธรรมเนียมโอน ดังนี้
ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน แต่ในกรณี ปู่ย่าหรือตายาย ต้องการโอนที่ดินให้หลานผู้สืบสันดาน จะมีค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมิน
ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมิน
ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดของราคาประเมิน โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50%
5. โอนมรดก
โอนกรรมสิทธิ์ในรูปแบบมรดก
– ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมิน (กรณีผู้รับมรดกเป็นผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส)
– ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน (กรณีผู้รับมรดกเป็นญาติพี่น้องหรือลูกบุญธรรม)
– ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดกแปลงละ 50 บาท
– ค่าประกาศมรดกแปลงละ 10 บาท
ในกรณีการโอนมรดกที่มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท ผู้ที่ได้รับจะต้องเสียภาษีมรดก ดังนี้
– ถ้าผู้รับมรดก คือ ญาติพี่น้องหรือบุตรบุญธรรม ต้องเสียภาษี 10% ในส่วนของมูลค่าที่เกินมา
– ถ้าผู้รับมรดก คือ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือผู้สืบสันดาน อย่างบุตรหลาน ต้องเสียภาษี 5% ในส่วนของมูลค่าที่เกินมา
– ถ้าผู้รับมรดก คือ สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับมรดกจะได้รับการยกเว้นและไม่ต้องเสียภาษี
ขั้นตอนการโอนที่ดิน 2568
ระยะเวลาที่ใช้ในการโอนที่ดินจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคิวหรือจำนวนคนที่ใช้บริการที่สำนักงานที่ดิน หากไม่มีคิวยาว ก็น่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี ขอแนะนำให้ไปสำนักงานที่ดินแต่เช้าเพื่อจองคิวและลดเวลาที่ต้องรอคอย
ทำเรื่องโอนที่ดิน ชำระค่าโอนที่ดิน 2568 ทำได้ที่สำนักงานที่ดิน
1.กรอกคำขอ พร้อมแนบเอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินตามที่ระบุในข้างต้น
2. นำคำขอและเอกสารดังกล่าวไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อผ่านการตรวจสอบเอกสารแล้ว เจ้าหน้าที่ฯ จะให้บัตรคิวเพื่อไปรอเรียกที่ฝ่ายชำนาญงาน
3. เมื่อถึงคิว ผู้โอนและผู้รับโอนที่ดินจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน
4. เจ้าหน้าที่ชำนาญงานจะประเมินราคาที่ดินและนำไปใช้ในการคำนวณค่าโอนที่ดิน 2568 ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดิน เมื่อทราบยอดราคาค่าโอนที่ดินแล้ว จะได้รับใบคำนวณค่าใช้จ่ายจากเจ้าหน้าที่
5. ให้นำใบคำนวณราคาค่าโอนที่ดิน 2568 ไปชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน จากนั้นจะได้รับใบเสร็จสีฟ้าและสีเหลือง
6. ให้มอบใบเสร็จสีเหลืองแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายชำนาญงาน และรับสำเนาใบเสร็จรับเงินสีฟ้าจากผู้ขาย (ตัวจริงผู้ขายเก็บรักษา)
7. เจ้าหน้าที่ชำนาญงานจะพิมพ์สลักหลังโฉนดและมอบให้ตรวจสอบ เมื่อโฉนดถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับโฉนดพร้อมสัญญาซื้อขาย (ทด.13) ซึ่งถือว่าสิ้นสุดขั้นตอนการโอนที่ดิน และกรรมสิทธิ์ของที่ดินก็ถือเป็นของผู้ซื้อหรือผู้รับโอนโดยสมบูรณ์
หากไม่สะดวกไปดำเนินการโอนที่ดินด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำแทนได้
ขอบคุณข้อมูล : ค่าโอนที่ดิน 2568 และ 7 ขั้นตอนการโอนที่ดินใน 1 วัน ณ สำนักงานที่ดิน
24 เม.ย 2568
24 เม.ย 2568
24 เม.ย 2568