ค่าธรรมเนียมโอนบ้าน เรื่องสำคัญที่ควรรู้

Last updated: 3 ธ.ค. 2566  |  619 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่าธรรมเนียมโอนบ้าน เรื่องสำคัญที่ควรรู้

   ค่าใช้จ่ายวันโอน คือ ค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อบ้านหรือคอนโด  ต้องเสียเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าธรรมเนียม ในการโอนกรรมสิทธิ์บ้านหรือคอนโดค่ะ หรือสั้นๆก็คือ “ค่าใช้จ่ายอื่นๆนอกเหนือจากค่าโอนฯ” นั่นเอง คนที่จะซื้อบ้านหรือคอนโด ควรที่จะศึกษาหาข้อมูลวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายวันโอนให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหรือคอนโดนะคะ เพราะจะช่วยทำให้ทราบว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่ต้องจ่ายคือเท่าไหร่และจะได้เปรียบเทียบกับกำลังซื้อ ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหรือคอนโดค่ะ วันนี้บ้านอุไรสิริ3 บางน้ำเปรี้ยว มีบทความ  ค่าธรรมเนียมโอนบ้าน เรื่องสำคัญที่ควรรู้ มาแนะนำให้ ลูกค้า นะคะ

 

   ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายวันโอนฯ?


   ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายวันโอน อาจเป็นได้ทั้ง “ผู้ซื้อ” และ “ผู้ขาย” แล้วแต่ตามที่ตกลงกัน เพราะไม่มีกฎที่ชัดเจนที่ระบุว่า ใครต้องเป็นผู้จ่ายค่าโอนส่วนใดบ้างค่ะ  เช่น ผู้ซื้อและผู้ขายอาจตกลงจ่ายร่วมกัน 

 

       1. ค่าธรรมเนียมการโอน 2%ของราคาประเมิน

 

   ปกติคิด 2% ของราคาประเมิน แต่เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น และเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โรค COVID-19 จึงได้ปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% โดยมีเงื่อนไขคือ       
  • เฉพาะการซื้อ-ขายอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด 
  • ราคาซื้อ-ขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • ใช้สิทธิได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
  • ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
  • ต้องโอนและจดจำนองตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565
  • ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย

       2. ค่าจดจำนอง 1%


   คิดเป็น 1% ของวงเงินกู้ทั้งหมด ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบส่วนนี้จะเป็น “ผู้ซื้อ” ที่ยื่นเรื่องขอกู้สินเชื่อ เพื่อซื้อบ้าน/คอนโด กับสถาบันการเงินหรือธนาคารเท่านั้น ถ้าหากไม่มีการทำเรื่องขอกู้ยืม ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ค่ะ  กรณีซื้อ-ขายโดยจดจำนอง จะเสียค่าจดจำนองด้วย ซึ่งปกติคิด 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ปี 2565 ได้ปรับลดลงเหลือ 0.01% เช่นกัน ตามเงื่อนไขคือ

  • เฉพาะการซื้อ-ขายอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด 
  • ราคาซื้อ-ขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • ใช้สิทธิได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
  • ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
  • ต้องโอนและจดจำนองตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565
  • ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย

      3.ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%

    หากผู้ขายเป็นเจ้าบ้าน/คอนโดไม่เกิน 5 ปี จะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน (แล้วแต่ว่าราคาใดสูงกว่า) และจะได้รับยกเว้นค่าอากรสแตมป์ค่ะ แต่ถ้าหากเกิน 5 ปีหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะค่ะ

       4. ค่าอากรสแตมป์ 0.5%

    คิดเป็น 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมิน  (แล้วแต่ว่าราคาใดสูงกว่า) ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่เสียค่าอากรสแตมป์จะเป็นผู้ขาย และถ้าหากผู้ขายจ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะไปแล้ว ก็ไม่ต้องเสียค่าอากร

       5. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (หัก ณ ที่จ่าย)

    โดยทั่วไปแล้ว “ผู้ขาย” จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบส่วนนี้ เพราะการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นรายได้ของผู้ขายค่ะ

    สำหรับผู้ที่ไม่ทราบราคาประเมินที่ดิน สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์ กรมธนารักษ์ และเมื่อทราบถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนบ้าน-โอนที่ดินแล้ว เราก็ลองคำนวณดูว่ากรณีของเราต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร เพื่อจะได้เตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้พร้อม ซึ่งจะช่วยให้การโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://money.kapook.com/view220755.html 

 

  บทความเกี่ยว ธนาคาร การยื่นสินเชื่อ อื่นๆ ที่น่าสนใจ

   6 เคล็ดลับการเตรียมตัวยื่นกู้ 
   ยื่นกู้บ้าน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง 
   4 เรื่องสำคัญที่ควรรู้ก่อนยื่นกู้ซื้อบ้าน 
   อัปเดต ! ดอกเบี้ยบ้านต้นปี 2566 
   3 ข้อหลัก คู่รัก LGBTQ กู้ร่วมซื้อบ้านได้แบบง่ายๆ


 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้