รวม 10 ตำบล ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวะฉะเชิงเทรา

Last updated: 6 พ.ค. 2567  |  927 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รวม 10  ตำบล   ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว  จังหวะฉะเชิงเทรา

   1. ตำบลบางน้ำเปรี้ยว
  พิกัดตำแหน่ง  : https://www.google.com/maps/place


     ตามคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ ผู้สูงอายุน่าเชื่อถือว่า ในบริเวณตำบลบางน้ำเปรี้ยวนี้ เมื่อฤดูแล้วน้ำในคลองแห้งขอดและขุ่นข้นเป็นโคลนตม และน้ำที่ขุ่นข้นนั้นมีรสฝาด จึงเข้าใจว่าในดินอาจจะมีแร่ธาตุ หรือสารอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ขนานนามว่า บางน้ำเปรี้ยว เป็นชื่อที่เรียกมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ชื่อหมู่บ้านที่อยู่ในเขตตำบลบางน้ำเปรี้ยว ได้แก่บ้านหนองใหญ่ บ้านหอคอย บ้านโพธิ์เย็น บ้านแคราย บ้านลำอ้ายสอ บ้านบึงเทพยา บ้านคลองขวาง และบ้านบึงทองคำ  

 

 1. สภาพทั่วไปของตำบลบางน้ำเปรี้ยวพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ราบลุ่ม แบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศบาลตำบลบางน้ำเปรี้ยว และ องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว
 

 2. จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบลมี 16 หมู่บ้าน ประชากรรวมทั้งตำบลบางน้ำเปรี้ยว มีจำนวน 15,679 คน อาชีพประชากรตำบลบางน้ำเปรี้ยวส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง
   

 3. จำนวนศาสนสถานตำบลบางน้ำเปรี้ยว มีวัด 3 วัด มัสยิด 10 มัสยิด ตำบลบางน้ำเปรี้ยว มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 60 และศาสนาพุทธ วัฒนธรรมและประเพณีของตำบลบางน้ำเปรี้ยว ประชากรในตำบลบางน้ำเปรี้ยว มีทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ประชาชนอยู่กันอย่างมีความสุข และมีความรักสามัคคีกันมาโดยตลอด สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก มีลำคลองผ่านหลายสาย เหมาะสำหรับ ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ 


ที่มา : http://www.m-culture.in.th/album/178394/%

   2. ตำบลบางขนาก
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%

   หมู่บ้านบางขนาก เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบยาวตลอดสาย ชื่อเดิมว่า “สามหอม” และมีคนเล่าสืบต่อกันมา เกี่ยวกับชื่อของหมู่บ้านว่า ในบริเวณนั้นมีต้นขนากขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จากการที่อยู่ริมคลองชาวบ้านก็จับปลามาเป็นอาหารประจำ และแถวนี้มีปลาขนากชุกชุมมาก จึงได้ตั้งชื่อตำบลนี้ตามสิ่งแวดล้อมว่า บางขนาก ชื่อหมู่บ้านที่อยู่ในเขตตำบลบางขนาก ได้แก่ บ้านบางขนาก บ้านประตูน้ำ บ้านชีปะขาว บ้านคลองสะแก บ้านบางอ้อ บ้านหลักร้อย บ้านสะพานรถไฟ บ้านต้นสำโรง บ้านตอกระทุ่ม บ้านประจำรัง บ้านลาดบางกระเบน และบ้านสามหอม

   1. พื้นที่ตำบลบางขนาก เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตชลประทาน มีแหล่งน้ำล้อมรอบทั้งแม่น้ำและคลองส่งน้ำ อาชีพหลัก ทำนา, ทำสวน, เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ,อาชีพเสริม,รับจ้าง

   2. ตำบลบางขนาก แบ่งเขตการปกครองเป็น เขตเทศบาล และ เทศบาลคลองแสนแสบ(เดิมคือ องค์การบริหารส่วน ตำบลบางขนาก) มีจำนวนประชากร เขตเทศบาลตำบลบางขนาก 2,280 คน และในเขตเทศบาลคลองแสนแสบ จำนวน 3,107 คนจำนวนศาสนสถานในตำบลบางขนาก มีวัด 4 วัด ปัจจุบันตำบลบางขนาก เป็นตำบลที่มีลักษณะทางภูมิศาตร์ตามธรรมชาติสวยงาม มีคลองล้อมรอบ จัดทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สวยงามตามธรรมชาติได้ คือ “คุ้มบุญส่ง” มีการนวดแผนโบราณ และเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่มา :  http://www.m-culture.in.th/album/view/178649/

   3. ตำบลสิงโตทอง

  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B4%


   ตำบลสิงโตทองเป็นหนึ่งใน  10  ตำบล  ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว เดิมขึ้นกับตำบลหมอนทอง   และแยกเป็นตำบลสิงโตทองในปี 2515 สภาพดั้งเดิม  เป็นป่าพรุ  รกชัฏ  อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าแขม  หนองน้ำ บึงธรรมชาติ  เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น เสือและช้าง  ต่อมาสมัยรัชการที่ 5   ได้มีการปฏิรูประบบชลประทานมีการขุดคลองส่งน้ำจนสามารถทำนาได้ การคมนาคมก็สะดวกยิ่งขึ้นเพราะสามารถเชื่อมเข้ากับคลองแสนแสบได้ 

   1. ประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลสิงโตทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว ใช้น้ำจากลำคลองสิบเก้า และลำคลองยี่สิบในการทำเกษตรกรรม โดยร้อยละ 85  เป็นการทำนา   เนื่องจากน้ำในลำคลองมีใช้เกือบตลอดทั้งปี   มีน้ำเน่าเสียบ้างสาเหตุจากการปล่อยน้ำเสียในบ่อกุ้ง บ่อปลา  และจากฉีดยากำจัดวัชพืชในลำคลอง


   2. ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในตำบลสิงโตทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว ส่วนมากมาจากย่านหัวหมาก  คลองตัน หนองจอก มีนบุรี  เริ่มอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนพร้อมจับจองที่ทำนา  และในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที 2  ได้มีกลุ่มชาวจีนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาตั้งรกราก โดยในระยะแรกประกอบอาชีพรับจ้าง พอมีทุนจึงเปลี่ยนเป็นอาชีพค้าขาย 


   3. มีโรงสีขนาดใหญ่ในตำบลสิงโตทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว ของจังหวัดฉะเชิงเทรา รับซื้อข้าวเปลือกและสีเป็นข้าวสารส่งออกต่างประเทศ   ส่วนชื่อของตำบลนั้น   ได้ตั้งชื่อตามบึงใหญ่ที่ไหลผ่านตำบลสิงโตทอง   คือบึงสิงโต  และเพื่อให้คล้องจองกับตำบลเดิม คือ ตำบลหมอนทอง  จึงเติมชื่อ  “ทอง”   หลัง “สิงโต”  ทำให้ได้ชื่อตำบลสิงโตทองมาจนถึงปัจจุบัน ประชากรในตำบลสิงโตทอง อ.บางน้ำเปรี้ยวมีฐานะปานกลางร้อยละ 60  ฐานะยากจน ร้อยละ 30  และฐานะดี  ร้อยละ 10  อาชีพประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม  ได้แก่  ทำนาข้าว ปีละ 2 ครั้ง  เลี้ยงวัว  เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง  รับจ้างตามโรงงานและค้าขาย


ที่มา : http://203.157.123.7/singtothong/?page_id=7

 

   4. ตำบลหมอนทอง
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B4/

   เป็นเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ ว่ามีตายายคู่หนึ่ง มีอาชีพค้าขายของชำ ของใช้ในครัวเรือน เมื่อขายได้ยายก็เอาเงินไปซื้อทองคำมาเก็บไว้ในบ้าน โดยซ่อนไว้ในหมอนที่ใช้อยู่ทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งหมอนได้หายไปจากบ้าน ยายก็เกิดความเสียดายพยายามหาหมอนดังกล่าวอยู่นาน แต่ก็ไม่พบ ต่อมาพวกหาปลาได้ไปพบหมอนยายเข้า สงสัยว่าทำไมหมอนจึงหนักผิดปกติ จึงฉีกหมอนดูพบทองซ่อนอยู่ในหมอน จึงอุทานคำว่า “หมอนทอง” ตั้งแต่นั้นมาจึงใช้คำอุทานนั้นเรียกเป็นชื่อตำบลหมอนทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว มาจนถึงปัจจุบัน 

   1. ตำบลหมอนทอง มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 60 ดังนั้น วัฒนธรรม ประเพณีจึงมีทั้งพุทธและอิสลาม ประชาชนทั้งสองศาสนาอยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคี

   2. เป็นตำบลที่ตั้งของศูนย์ 3 วัย สานใยรักแห่งครอบครัว ในพระอุปถัมภ์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา เป็นศูนย์เรียนรู้ กิจกรรมศูนย์ 3 วัย โดยมีแนวคิดของ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นศูนย์สุขภาพศูนย์ฝึกอาชีพ,และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

ที่มา : http://www.m-culture.in.th/album/view/178397/

   

   5. ตำบลบึงน้ำรักษ์
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%u
   จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ของพื้นที่ตำบลบึงน้ำรักษ์ อ.บางน้ำเปรี้ยว เล่าว่า ในพื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน และมีลำบึงที่ยาวคดไปคดมา หรือเป็นแนวตรงเชื่อมแหล่งน้ำอื่น ๆ ชาวบ้านได้อาศัยน้ำในการทำนาปลูกข้าว และสัญจรไปมาได้สะดวกมีบึงหนึ่งที่ทอดตัวผ่านทุ่งนาเป็นแนวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ น้ำในบึงเป็นสีดำดูไม่สะอาด แต่ประหลาดที่น้ำสีดำนั้น ไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนกับสี ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บึงน้ำรัก”หมายถึงบึงน้ำสีดำ 

 

   1. ตำบลบึงน้ำรักษ์ อ.บางน้ำเปรี้ยว  มีประชาชนหลากหลายอยู่ร่วมกัน โดยนับถือศาสนาพุทธ อิสลาม และมีชุมชนมอญ อยู่ร่วมกันในตำบลบึงน้ำรักษ์ ดังนั้น วัฒนธรรม ประเพณีจึงหลากหลายด้วยกัน มีทั้งศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม และเป็นชุมชนเด่นที่คนทั่วไปรู้จัก 

 

   2. เป็นตำบลแห่งเดียวในอำเภอบางน้ำเปรี้ยวที่มีชุมชนมอญ กับการละเล่นพื้นบ้านได้แก่ การเล่นสะบ้าในประเพณีสงกรานต์ ทั้งยังมีการละเล่นพื้นบ้านของศาสนาอิสลาม ได้แก่ ลิเกฮูลู นาเสบ ฯ ดังนั้น ตำบลบึงน้ำรักษ์ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จึงเป็นตำบลที่มีประชากรหลากหลายวัฒนธรรม มีความรัก และสามัคคีอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงใช้คำอุทานนั้นเรียกเป็นชื่อตำบลบึงน้ำรักษมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนทิศเหนือ ติดกับ ตำบลชุมพล อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก ทิศใต้ ติดกับ ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันตก ติดกับ แขวงคลองสิบสอง กรุงเทพมหานคร และตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี  

ที่มา : http://www.m-culture.in.th/album/178417/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%%8C

 

   6. ตำบลดอนเกาะกา
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%

   ตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว  เดิมตำบลดอนเกาะกามีพื้นที่เป็นที่ดอนและเป็นป่าทึบมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่จำนวนมากและบรรดา นกต่างๆโดยเฉพาะนกกาลงมาทำมาหากินที่อุดมไปด้วยอาหารนานาชนิดจนชาวบ้านเรียกพื้นที่แถบนี้ว่า "ดอนเกาะกา" จนได้ชื่อว่า "ตำบลดอนเกาะกา" มาจนทุกวันนี้

   1. ตำบลดอนเกาะกา มีประเพณีหลากกหลาย เช่น ประเพณีวันเกิด งานแต่ง งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานศพ ประเพณีท้องถิ่นตามเทศกาล เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลตรุษสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีตามศาสนาและความเชื่อ เช่น วันสำคัญทางศาสนาเช่นประจำปี ทั้งศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ

   2. มีกลุ่มศิลปะการแสดงของเด็กเยาวชนมุสลิม(ลิเกฮูลู) สร้างชื่อเสียงให้กับตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว โดยได้รับรางวัล To Be number one ระดับประเทศ ทั้งยังมีปราชญ์ชาวบ้านด้านดิน , ปุ๋ยธรรมชาติ ได้สร้างชื่อเสียงให้ตำบลดอนเกาะกา ประชาชนทั้งสองศาสนา อยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคี
   ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางร้อยละ60ฐานะยากจนร้อยละ 30  และฐานะดีร้อยละ 10  อาชีพประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรมได้แก่ทำนาข้าวปีละ3ครั้ง   รองลงมาคืออาชีพรับจ้างตามโรงงาน เลี้ยงปลา   เลี้ยงกุ้ง   เลี้ยงวัว ค้าขายและรับจ้างทั่วไป ประชากรในตำบลดอนเกาะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว มีทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมประเพณี จึงมีทั้งสองศาสนา ตามเทศกาล โดยมีประเพณีทั่วไปของแต่ละชุมชน


ที่มา : http://123.242.145.13/album/%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2


   7. ตำบลโยธะกา
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%

   ตำบลโยธะกาแยกมาจากตำบลดอนเกาะกาและตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว เมื่อปี พ.ศ.2480 สมัยก่อนชาวบ้านเรียก”แม่น้ำนครนายก”ว่า “แม่น้ำโยธะกา” เนื่องจากมีต้นโยธะกาซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งดอกสีชมพู ฝักคล้ายกระถินขึ้นเรียงรายตามสองฝั่งแม่น้ำ ปัจจุบันนี้ต้นไม้ดังกล่าวสูญหายไปหมดแล้ว ชาวบ้านจึงเรียกแม่น้ำโยธะกาว่า แม่น้ำนครนายกตามชื่อเดิม

   1. ตำบลโยธะกาแยกมาจากตำบลดอนเกาะกาและตำบลหมอนทอง เดิมในพื้นที่แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง เป็นเขตติดต่อเขตอำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก โดยมีคลองกั้นเป็นสายไหลลงสู่ แม่น้ำนครนายกไหลผ่านมาบรรจบกับแม่น้ำบางปะกง ติดกับคลองแสบอำเภอบางน้ำเปรี้ยว

   2. มีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นตามชายแม่น้ำ ชาวบ้านเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “โยธะกา”หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คัดเค้า” ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ตำบลโยธะกา”มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยวดังนี้ บ้านบางเชือกเขา บ้านนาคา บ้านคลองสิบเก้า บ้านบึงบางไทร บ้านบึงตาหอม บ้างคลองยี่สิบ บ้านคลองยี่สิบเอ็ด บ้านท่าช้าง และบ้านคลองหกวา
   ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีประชากรทั้งศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมประเพณี จึงมีทั้งสองศาสนา ตามเทศกาล ประชาชนทั้งสองศาสนา อยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคี ประชาชนในตำบลโยธะกา อำเภอบางน้าเปรี้ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร พืชที่นิยมปลูก คือ กล้วย มะม่วง มะพร้าว

ที่มา : http://m-culture.in.th/album/view/178400/


   8. ตำบลดอนฉิมพลี
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%

   ย้อนไปเมื่อ 100 กว่าปี ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว สถานที่แห่งนี้เป็นที่ดอน จึงไม่มีการทำนา แต่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ตำบลดอนฉิมพลีเป็นสถานที่ที่พักของพวกโจร ที่ชอบลักขโมยวัว ควายของชาวบ้านนำไปขายและชำแหละกินกันเอง ชาวบ้านในแถบนั้นจึงเรียกสถานที่นั้นว่า “ดอนฉิมพาลี”คำว่า “ฉิม” แปลว่า ตาย “พาลี” แปลว่าควาย มีความหมายว่า “ดอนแห่งควายตาย” ต่อมามีชาวบ้านได้อพยพมาอยู่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงหันมาทดรองทำนาในพื้นที่ดอนฉิมพาลี ได้ผลผลิตดี ชาวบ้านจึงหันมาทำนากันเป็นจำนวนมาก

   1. เปลี่ยนชื่อจากดอนฉิมพาลี เป็น “ดอนฉิมพลี” แปลว่า ดินแดนแห่งความสุข ดินแดนแห่งเมืองสวรรค์และวิมานฉิมพลี ส่วนหมู่บ้านที่มีโจรอยู่ เรียกว่า “สามร้อย” มีหมู่บ้านได้แก่ บ้านคลองสิบหก บ้านคลองหกวา บ้านคลองยี่สิบเอ็ด บ้านดอนกลาง บ้านปากคลองยี่สิบ บ้านคลองสิบเจ็ด บ้านคลองสิบหก บ้านคู้ บ้านลำชะล่า และบ้านสมอเอก

   2. ตำบลดอนฉิมพลี เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบางน้ำเปรี้ยวที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดตำบลหนึ่ง วัฒนธรรม ประเพณีจึงมีทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม มีการแสดงพื้นบ้านของมุสลิมได้แก่ ลำตัด และ ลิเกฮูลูที่อนุรักษ์และสืบทอดอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเพณีของพุทธศาสนา เช่น วันสำคัญ ๆ ทางศาสนา และประเพณีตามเทศกาล
   ระยะทางจากตำบลดอนฉิมพลี ถึง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ประมาณ 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ในความรับผิดชอบเป็นอาณาเขตกว้าง มีประชากรหนาแน่น ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลดอนฉิมพลี เพื่อจะได้ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ท้องถิ่นมีความเจริญมากยิ่งขึ้น


ที่มา : http://m-culture.in.th/album/178681/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%


   9. ตำบลศาลาแดง
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%

   ซึ่งเป็นชุมชนที่ก่อตั้งมานานแล้ว โดยมีบรรพบุรุษเล่าต่อกันมาว่าเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสทางชลมารคล่องเรือมาถึงคลองแสนแสบได้แวะพักและเสด็จขึ้น ศาลาท่าน้ำของชาวบ้าน (ซึ่งต่อมาภายหลังทราบชื่อว่านายแดง) ถามถึงสารทุกข์สุกดิบ ซึ่งนายแดงได้ถามถึงพระองค์ท่านว่า (โดยที่ไม่ทราบว่าเป็นพระองค์ท่าน) ทำไมหน้าท่านจึงเหมือนเหรียญเงินที่เขามีอยู่ และเมื่อท่านเสด็จไปแล้ว นายแดงได้ไปบอกกล่าวกับเพื่อนบ้าน ซึ่งเพื่อนบ้านได้ลงความเห็นว่าน่าจะเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งท่านชอบปลอมพระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนชาวบ้านด้วยพระองค์เอง และต่อมาเมื่อชาวบ้านจะชุมนุมกัน ก็จะใช้ศาลาแห่งนี้

   1. ตำบลศาลาแดง  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม  ลักษณะที่ตั้งของตำบลเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ปลายเขตแดนของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีพื้นที่ติดต่ออำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา  มีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข  304 (ถนนสุวินทวงศ์) กั้นเขตแดนระหว่างอำเภอเมือง  และมีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  3481 หนองจอก-บ้านสร้าง   ตัดผ่ากลางพื้นที่ตำบลศาลาแดง 

   2. ดินมีความสมบูรณ์เหมาะกับการทำเกษตรกรรม ไม่มีภูเขา พื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ในเขตชลประทาน โครงการชลประทานพระองค์เจ้าไชยานุชิต ภายในชุมชนมีแหล่งน้ำอยู่หลายแหล่งด้วยกัน ได้แก่ คลอง 15,คลอง16,คลอง17,คลอง18,คลองไผ่ดำ,คลองแสนแสบและคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตไหลผ่าน ซึ่งคลองต่างๆ เหล่านี้ใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อระบายน้ำและการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร ให้ประชาชนในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว

   ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 95 รองลงมาคือ รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม   ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่   ข้าว ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางร้อยละ 60 ฐานะยากจนร้อยละ 20 และฐานะดี ร้อยละ 10  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนาข้าว ปีละ 2 ครั้อาชีพรองคืออาชีพรับจ้างตามโรงงาน ค้าขาย เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว ตามลำดับ


ที่มา : http://203.157.123.7/saladaeng/?page_id=7 


   10. ตำบลโพรงอากาศ
  พิกัดตำแหน่ง : https://www.google.com/maps/search/%E0%B8%95%E0%

   ตำบลโพรงอากาศ เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ตามคำบอกเล่าของ ผู้สูงอายุ แต่เดิมตำบลนี้มีชื่อว่า “พงตะกาด” เนื่องจากมีสภาพ รกร้างว่างเปล่า เป็นที่ราบลุ่ม มีพงหญ้าเรียกว่าต้นตะกาด และต้นลำโพงขึ้นอยู่มากมาย ดอกสีขาวมีสรรพคุณรักษาโรคไซนัส เหตุที่มีต้นลำโพงและมีหญ้าตะกาด ขึ้นเป็นพงอยู่มากมาย ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านพงตะกาด” ต่อๆ กันมา ในช่วงระยะหลัง จึงได้เปลี่ยนเป็น “บ้านโพรงอากาศ” ดังในปัจจุบัน

   1. ตำบลโพรงอากาศ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ตามถนนหมายเลข 3200 ถนนบางน้ำเปรี้ยว - ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 5 กม. และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทราประมาณ 20 กิโลเมตร พื้นที่ทั้งหมดของตำบลโพรงอากาศ จำนวน 36,687.5 ไร่ คิดเป็น 58.7 ตารางกิโลเมตร

   2. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร ประมาณ 32,227 ไร่ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้และภูเขาเป็น พื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่มีลำคลองต่าง ๆ หลายสาย เช่น คลองชวดตาสี คลองขวาง คลองบางกลาง คลองแพรกตามายาว คลองบ้านใหม่ คลองปลื้มพับผ้า คลองบางใหญ่ บึงบางสาย คลองพงศ์กระถิน และคลองลาดบางกระเบน เป็นต้น

   3. ส่งเสริมศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้มีความรัก ความสามัคคี เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันดีของคนไทย และดำรงตนในสังคมได้อย่างมีคุณค่า ไม่ทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กและคนชรา และส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีคุณภาพชีวิตที่ดี รักการกีฬา สุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากยาเสพติด 

    ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกรรมในตำบลให้เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ และเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตร เพื่อจำหน่ายสู่ตลาดและบริโภคในครัวเรือนมีอาชีพ มีรายได้ และ การดำเนินชีวิตแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” เกิดความมั่นคงในสังคม ฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและส่งเสริมภูมิปัญญาและวิถีชีวิตชาวบ้าน


ที่มา : https://www.prongarkard.go.th/obt/vision 

 

โครงการอุไรสิริ 3 บางน้ำเปรี้ยว ยังมี บทความเกี่ยวกับ สถานที่สำคัญ อื่นๆ ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่น่าสนใจ มาแนะนำเพื่อนๆด้วยนะคะ

  รวม 8 องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว

  โรงเรียนในบางน้ำเปรี้ยว

   สำหรับใครที่กำลังมองหา ทาวน์โฮม ชั้นเดียว ย่านบางน้ำเปรี้ยว แนะนำ อุไรสิริ 3 บางน้ำเปรี้ยว  2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ  เชิญชมโครงการได้ทุกวัน 9.00-18.00 น.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้