Last updated: 4 ธ.ค. 2566 | 1161 จำนวนผู้เข้าชม |
1. หลีกเลี่ยงการบริโภคสารคาเฟอีน (caffeine)
ซึ่งมีในกาแฟ, ชา, ชาเขียว, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม, โกโก้, ช็อคโกแลต และยาบางชนิด เนื่องจากชากาแฟมีสารคาเฟอีนจะกระตุ้นสมอง ทำให้ตื่นตัว และนอนไม่หลับได้ โดยสารคาเฟอีนสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 6 -7 ชั่วโมง
2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ถึงแม้ว่าเครื่องดื่มดังกล่าวจะทำให้รู้สึกง่วงหลับได้ง่ายในระยะต้น แต่เมื่อแอลกอฮอล์เริ่มหมดฤทธิ์ในเวลา 2-3 ชั่วโมงต่อมาจะทำให้นอนหลับไม่สนิท ตื่นได้ง่าย อาจเกิดฝันร้ายในเวลากลางคืน
3. อย่าเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้
เพราะอาจดูเพลินจนล่วงเลยเวลานอน และมีเสียงรบกวนทำให้นอนหลับไม่สนิท
4. อย่าเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งคืน
เพราะแสงสว่างทำให้สมองรับรู้ว่าเป็นเวลากลางวัน และยับยั้งการหลั่งสารเมลาโทนิน ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้หลับสนิท
5. อย่าจดจ่อกับนาฬิกา
การเฝ้าดูเวลาจะทำให้กังวลว่าตอนนี้เวลาล่วงเลยไปดึกแค่ไหนการจดจ่อกับเข็มนาฬิกายิ่งทำให้คุณกระวนกระวายใจและหลับยากมากขึ้น
6. อย่าทำงาน หรือกิจกรรมอื่นๆบนเตียง
เมื่อเราใช้เตียงเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ทำงาน อ่านหนังสือ เราจะตื่นตัว สมองจะมีการเชื่อมโยงกับร่างกาย เราจะไม่รู้สึกว่าการนอนลงบนเตียงจะเป็นการผ่อนคลาย”
ขอขอบคุณที่มา : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic
บทความเกี่ยวกับ สุขภาพ อื่นๆ ที่น่าสนใจ
เคล็ด(ไม่)ลับ ดูแลสุขภาพในช่วงหน้าร้อน
5 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงในช่วงหน้าหนาว
5 ข้อดีของการตื่นเช้า
6 เคล็ดวิธี เสริมภูมิร่างกาย สู้ COVID-19
5 อาหารไทย” กินสู้โควิด-19
3 พ.ย. 2567
30 ต.ค. 2567