Last updated: 1 เม.ย 2568 | 20 จำนวนผู้เข้าชม |
ขั้นตอนตรวจสอบอาคารเบื้องต้นหลังแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ในเมียนมาที่ส่งแรงสั่นสะเทือนถึงไทย คำแนะนำจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
หลังเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 13.20 น. วันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร แรงสะเทือนถึงประเทศไทยหลายพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ได้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคารบ้านเรือน
ท่ามกลางความกังวลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่คู่มือการตรวจสอบอาคารเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินความเสียหายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง
คู่มือการตรวจสอบอาคารเบื้องต้นฉบับนี้ ครอบคลุมทั้งการตรวจสอบอันตรายเร่งด่วน การประเมินสภาพภายนอกอาคาร และการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ประชาชนควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยสูงสุดหลังเกิดแผ่นดินไหว ดังนี้:
เช็คลิสต์ตรวจสอบอาคารเบื้องต้นหลังเกิดแผ่นดินไหว
1. ตรวจสอบอันตรายเร่งด่วน (Immediate Danger)
มีกลิ่นแก๊สหรือเสียงรั่ว (เช่น เสียงฟู่) หรือไม่
มีไฟฟ้ารั่ว,ประกายไฟ, กลิ่นไหม้, หรือสายไฟห้อย/ขาดหรือไม่
ตัวอาคารเอียง, ทรุด, หรือมีรอยร้าวใหญ่ในเสา/ผนังหลักหรือไม่
หลังคาหรือชิ้นส่วนโครงสร้างใด ๆ ดูเหมือนจะพังลงมาหรือไม่
มีเศษวัสดุตกลงมาบพื้นทางเดิน หรือบล็อกทางเข้า-ออกหรือไม่
2. ตรวจสอบภายนอกอาคาร (Preliminary Exterior Check)
ผนังภายนอกและฐานรากมีรอยร้าวเฉียง ร้าวลึก หรือแตกกระจายหรือไม่
ปล่องไฟ กำแพง หรือกันสาดพัง หรือหลุดออกจากที่เดิมหรือไม่
กระจกแตก หน้าต่างหลุด หรือประตูบิดเบี้ยวหรือไม่
อาคารดูเอียง หรือมีโครงสร้างเคลื่อนจากฐานหรือไม่
พื้นดินรอบอาคารแยกตัว ทรุด หรือยุบตัวหรือไม่
สายไฟหรือเสาไฟใกล้อาคารล้ม หรือดูไม่มั่นคงหรือไม่
3. ตรวจสอบภายนอกอาคาร (Preliminary Exterior Check)
ผนังภายนอกและฐานรากมีรอยร้าวเฉียง ร้าวลึก หรือแตกกระจายหรือไม่
ปล่องไฟ กำแพง หรือกันสาดพัง หรือหลุดอออกจากที่เดิมหรือไม่
กระจกแตก หน้าต่างหลุด หรือประตูบิดเบี้ยวหรือไม่
อาคารดูเอียง หรือมีโครงสร้างเคลื่อนจากฐานหรือไม่
พื้นดินรอบอาคารแยกตัว ทรุด หรือยุบตัวหรือไม่
สายไฟหรือเสาไฟใกล้อาคารล้ม หรือดูไม่มั่นคงหรือไม่
4. ระบบไฟฟ้า (Electrical System)
ตรวจสอบเบรกเกอร์หลักว่ายังทำงานหรือหลุดลงเองหรือไม่
มีสายไฟขาด ลุกไหม้ หรือเสียบผิดตำแหน่งหรือไม่
ปิดเบรกเกอร์หลักหากมีข้อสงสัย และให้ช่างไฟฟ้าตรวจสอบก่อนเปิดใช้
ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1 เม.ย 2568