หลังแผ่นดินไหว ควรตรวจเช็คโครงสร้างของบ้านที่อยู่อาศัยว่ามีรอยแตกร้าวที่ผิดปกติหรือไม่ โดยเราสามารถแบ่งรอยร้าวจากแผ่นดินไหวได้ตามนี้ครับ

Last updated: 1 เม.ย 2568  |  55 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลังแผ่นดินไหว ควรตรวจเช็คโครงสร้างของบ้านที่อยู่อาศัยว่ามีรอยแตกร้าวที่ผิดปกติหรือไม่ โดยเราสามารถแบ่งรอยร้าวจากแผ่นดินไหวได้ตามนี้ครับ

1. รอยแตกเส้นขน (Hairline Cracks) – ไม่น่ากังวล

ลักษณะ: เป็นเส้นบาง ๆ เล็กกว่า 1 มม. บนผิวปูนฉาบ

สาเหตุ: การยืดหดตัวของวัสดุ หรือแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อย

แนวทางแก้ไข: สามารถฉาบปิดทับ หรือทาสีใหม่ได้

2. รอยแตกแนวฉาบปูน (Plaster Cracks) – ควรเฝ้าระวัง

ลักษณะ: รอยแตกลึกกว่ารอยขนเล็กน้อย แต่อยู่เฉพาะชั้นปูนฉาบ

สาเหตุ: โครงสร้างขยายหรือหดตัวจากอุณหภูมิ หรือแรงกระแทกเบา ๆ

แนวทางแก้ไข: ควรซ่อมแซมด้วยวัสดุอุดรอยแตก และสังเกตต่อเนื่อง

3. รอยแตกร้าวแนวเฉียงบนผนัง (Diagonal Cracks) – อันตรายระดับปานกลาง

ลักษณะ: เป็นแนวเฉียง 30-45 องศา พบมากบริเวณมุมประตูและหน้าต่าง

สาเหตุ: โครงสร้างรับแรงไม่สมดุล หรือฐานรากเคลื่อนตัว

แนวทางแก้ไข: ควรให้วิศวกรตรวจสอบโครงสร้าง และซ่อมแซมด้วยวิธีเสริมกำลัง

4. รอยแตกลึกถึงโครงสร้าง (Structural Cracks) – ต้องรีบแก้ไข

ลักษณะ: รอยแตกกว้างเกิน 2 มม. ลึกจนเห็นเหล็กเสริม หรือแตกตลอดความหนาของผนัง

สาเหตุ: แรงแผ่นดินไหวส่งผลโดยตรงต่อโครงสร้างหลัก

แนวทางแก้ไข: ต้องให้วิศวกรโครงสร้างเข้าตรวจสอบและอาจต้องเสริมโครงสร้างเพิ่มเติม

   นอกจากนี้ยังต้องระวังรอยแตกที่เสาหรือคาน (Column/Beam Cracks) ลักษณะเป็นรอยแตกลึกและกว้างบนเสา คาน หรือพื้น มีการยุบตัวของอาคาร บ่งบอกว่าโครงสร้างรับแรงเสียหายอย่างรุนแรง เสี่ยงต่อการพังถล่ม ควรอพยพออกจากอาคารทันที และให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าประเมินเพื่อความปลอดภัย   หากพบรอยแตกร้าวในกลุ่มที่ 3 ขึ้นไป ควรให้วิศวกรตรวจสอ
โดยเร็ว เพื่อความปลอดภัยของอาคารและผู้อยู่อาศัยค่ะ

ขอขอบคุณที่มา Unlockmen 






Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้